31 July 2010

ความจริงที่อยากให้รู้

วันนี้ผมลงมือเขียนบทความนี้เอง จากที่ผมนั้นได้ยิน ได้ฟังมา ได้พิจารณาและเห็นจริงตามที่ท่านผู้นั้นได้ว่าไว้จริง จึงจะนำมาเล่าดังนี้ ความมีอยู่ว่า...
       "ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เกิดมากี่ 1,000 กี่ 10,000ชาติ มนุษย์ก็ทนรับได้ และจะรับต่อไปอีกเรื่อยๆ แต่มีสิ่งนึงที่มนุษย์ทนไม่ได้ ก็คือ ทนที่จะขัดใจ ขัดกับความต้องการของตัวเองไม่ได้"

[ขยายความ]
เช่น อยากจะรวย อยากจะสวย กระเสือก กระสน ด้นรน ทนทุกข์เท่าไหร่ข้าก็ยอม
อยากมีรถยนต์ บ้านช่องหรูหรา ให้ทัดเทียมกับผู้อื่น เพื่อจะให้ได้มาทนทุกข์เท่าไหร่ข้าก็ยอม
อยากได้สามี/ภรรยา เหมือนอย่างคนอื่นเขา เพื่อจะให้ได้มาทนทุกข์เท่าไหร่ข้าก็ยอม
อยากเที่ยว กินเหล้า ขาดสติ รู้ทั้งรู้ว่าเสี่ยงอันตรายต่างๆเท่าไหร่ข้าก็ยอม
โกรธ อยากด่า อยากทำร้าย  ฆ่าแกงกัน ถึงข้าจะติดคุก เกิดบาปกับตัวข้าก็ยอม อย่างนี้เป็นต้น

พระพุทธเจ้าท่านสอน เพราะอะไรที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ต่างๆ ก็ให้หยุดเหตุนั้น ยอมขัดใจตัวเอง พอใจในสิ่งที่มี ที่ได้ ที่เป็น มีความสันโดดเป็นสันดาน ความทุกข์กับสิ่งนั้นก็จะไม่มี

ความสุข มันคู่กับ ความทุกข์ ถ้าไม่ลุ่มหลง มัวเมา รักใคร่ พอใจกับสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุให้เกิดสุข..ฉันใด..  ความทุกข์ที่จะตามมามันก็ไม่มี ฉันนั้น

ขอให้พบกับความพอเพียง ที่เหมาะสมกับตัวท่านนะครับ

30 July 2010

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

    คำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัสสอนไว้ว่า มีทางโลก ๔ อย่าง ทางธรรม ๔ อย่าง เรียกว่า โลกธรรม ๘

ทางโลก ๔ อย่าง คือ
๑) มีลาภ
๒) มียศ
๓) มีสรรเสริญ
๔) มีสุข

ทางธรรม ๔ อย่าง คือ
๑) เสื่อมลาภ
๒) เสื่อมยศ
๓) มีนินทา
๔) มีทุกข์

     คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๘ อย่าง แต่ปัจจุบันมนุษย์สนใจเพียง ๔ อย่าง คือ มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีสุข แต่ไม่สนใจอีก ๔ อย่าง คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ มีนินทา มีทุกข์ จะมีชาวพุทธสักกี่คน ที่เข้าใจในคำสอนบทนี้ แล้วนำมาปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริง มีลาภ เสื่อมลาภ มีลาภ หมายความว่า เมื่อมีหรือได้ทรัพย์สมบัติใด ๆ มาเป็นของตน คน ส่วนใหญ่จะลุ่มหลงมัวเมา ยึดมั่นถือมั่น คิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ เหนือผู้อื่น ดูถูกเหยียดหยามผู้ที่มีทรัพย์น้อยกว่า ลืมความเสื่อมลาภที่จะเกิดขึ้น กับทรัพย์สมบัติ และความตายที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่เข้าใจในคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมายความว่าอย่างไร

อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แม้ร่างกายของเรา

ทุกขัง คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ใครยึดมั่นถือมั่น กับสิ่งใดในโลกนี้ว่าเป็นของตน สิ่งเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดทุกข์ รวมทั้งร่างกายของเรา

อนัตตา คือความสูญสลาย เมื่อตัวเราตาย ร่างกายก็จะกลายเป็นธาตุดินในที่สุด...อ่านต่อ...

29 July 2010

อุปมาธรรมมะ(ต้นไม้)

ต้นไม้ ต้นใด ที่ชาวสวนปลูกไว้ มีผลดก สมบรูณ์ รสหวาน ราคาแพง เป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์สิน เงินทองและความสุข ให้แก่ชาวสวน ฉันใด พ่อแม่ที่มีลูกเป็นคนดี มีความกตัญญู กตเวทีอยู่ในสันดาน ย่อมสร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจมาให้แก่ พ่อแม่ ฉันนั้น

28 July 2010

อุปมาธรรมมะ(เทียน)

ผู้ใดถือเทียนอยู่ในมือ ไม่ทำการจุดขึ้นย่อมไม่พบแสงสว่าง...ฉันใด... ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมไม่เกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม...ฉันนั้น...

26 July 2010

ความเห็นแก่ตัว กับ การรักตัวเอง

ความเห็นแก่ตัว หมายถึง คนที่ตกเป็นทาสของกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง หาความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น

การรักตัวเอง หมายถึง การรักษา กาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง

ความเป็นจริง มนุษย์ที่เกิดมามีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิตมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติ ส่งผลให้มาเกิดเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน ดังที่มนุษย์เกิดมาเมื่อวัยเด็ก จะแสดงกิเลสออกมาให้เราเห็น เช่น ความหลง จะเห็นได้ว่าเด็กจะยึดมั่นถือมั่น ติดพ่อแม่ ไม่ยอมให้ใครอุ้มนอกจากพ่อแม่ หรือบางครั้งเด็ร้อง อยากได้สิ่งของต่าง ๆ เป็นเพราะเด็กมีความโลภ เมื่อได้มาแล้วก็เกิดความหวงแหน และอยากได้สิ่งของอื่นๆ อีกไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้าไม่ได้ดังใจก็จะเกิดความโกรธ ร้องไห้งอแงดิ้นทุรนทุราย นี่คือ อาการของเด็กที่มีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบ งำจิตมาตั้งแต่เกิด เป็นการแสดงออกถึงความเห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากลำบากของพ่อแม่ แต่ด้วยความรักที่มีต่อลูก พ่อแม่ก็ตามใจลูกทุกอย่าง ไม่ว่าลูกจะต้องการสิ่งใด ก็หามาให้ โดยไม่คำนึงถึงว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด อีกทั้งไม่เคยชี้แจงแสดงเหตุผลให้ลูกเข้าใจถึงความจำเป็นหรือไม่ กับสิ่งที่ลูกต้องการ ถือว่าเป็นการสนับสนุน กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของลูกให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งจะเห็นว่า เด็กที่ถูกพ่อแม่ตามใจส่วนมาก จะประพฤติตนไม่ดี ไม่รู้ผิดไม่รู้ถูก ไม่รู้ชั่ว ไม่รู้ดี ดังที่เราได้พบเห็นกันในปัจจุบัน...อ่านต่อ...

19 July 2010

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป หมายความว่าอย่างไร

๑. หิริ คือ ความละอายต่อบาป

๒. โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป

หิริ แปลว่า ความละอายใจต่อบาป ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น ไม่กล้าทำความชั่วใดๆ จะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เพราะมีความละอายใจต่อบาป ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง รู้ว่าบาป คือความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เกิดจากการทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจของตนเอง

ผู้ที่มีหิริ จึงคิดดี พูดดี ทำดีเสมอ เพราะมีคุณธรรม คือ หิริ คุ้มครองจิตใจ เขาจึงเป็นคนดี ผู้ที่ไม่มีหิริ คือ ความไม่ละอายต่อบาป จะทำความชั่วได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม บางคนทำความชั่วลับหลัง แต่ต่อหน้าไม่กล้าทำ เพราะอายคนจะรู้ จะเห็น มิใช่ละอายต่อบาป เขาเป็นคนชั่ว เพราะไม่มีธรรมประจำใจ

โอตตัปปะ แปลว่า ความเกรงกลัวต่อบาป
เกรงกลัว หมายถึง กลัวโทษที่จะเกิดขึ้นจากการทำความชั่ว ผู้ที่มีโอตตัปปะ คือผู้ที่เชื่อ และเข้าใจในกฎแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะทำความดีด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดี หรือจะทำความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ก็ตาม รู้ว่ากรรมดี กรรมชั่ว จะส่งผล ให้กับผู้ประกอบกรรมนั้นได้รับในชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป

ผู้ที่มีโอตตัปปะจะไม่ทำความชั่ว เพราะกลัวบาป คือโทษและความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง จึงพยายามคิดดี พูดดี ทำดี อยู่เสมอ มีปัญญารักษาตัวให้พ้นภัย ผู้ที่ไม่มีโอตตัปปะ เขาจะไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เขาจึงไม่เกรงกลัวต่อบาป สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง เพราะเขาไม่มีหิริ โอตตัปปะ ไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป ตลอดชีวิตจะมีแต่ความทุกข์ เพราะเขาไม่มีคุณธรรมทั้งสองประการนี้คุ้มครองจิตใจ...อ่านต่อ...

11 July 2010

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง

มนุษย์เป็นโรค ๔ อย่าง คือ

     (๑) โรค บ้า

     (๒) โรค ใบ้

     (๓) โรค ตาบอด

     (๔) โรค หูหนวก




๑. โรคเป็นบ้า

เป็นโรคบ้า ในที่นี้ หมายถึงผู้ที่บ้าโลภ บ้าโกรธ บ้าความหลง เพราะมีกิเลสครอบงำจิตใจอย่างหนาแน่น ลุ่มหลงมัวเมาใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต เป็นต้นว่า

บ้าเพราะความโลภ เช่นบ้าทรัพย์สมบัติ มีเท่าไหร่ก็ไม่พอใจ พยายามคิดหาวิธีที่จะหาทรัพย์นั้นมาเพิ่มอีก จะผิดกฎหมาย ผิด ครรลองคลองธรรม จะโดยวิธีสุจริตก็ตาม พยายามดิ้นรน กระวนกระวาย ไม่ว่าจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพียงใด เพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติ สิ่งของที่ตนต้องการ เช่น มีบ้านอยู่หลังเดียวก็อยากได้เพิ่มอีกเป็น ๒ หลัง ๓ หลัง มีรถยนต์ ๑ คัน ก็อยากได้เพิ่มเป็น ๒ คัน ๓ คัน มีทองอยู่ ๕ บาท ๑๐ บาท ก็ อยากได้เพิ่มเป็น ๑๐๐, ๒๐๐ บาท เป็นต้น มีความโลภอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด จะทุกข์ยากลำบากอย่างไรก็ยอม ผู้ที่มีสมบัติมาก มายอยู่แล้วก็ไม่พอใจ มีความโลภมาก ไม่ว่าจะได้มาโดยวิธีผิดกฎหมาย หรือผิดครรลองคลองธรรม เช่นการทุจริตคดโกง หลอกลวง ค้ายาเสพติด ค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ เพื่อให้ได้ทรัพย์สินตามที่ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วกับมนุษย์ทั่วไป นี่คือความ โลภทำให้เป็นโรคบ้า...อ่านต่อ...

09 July 2010

การใช้งาน subversion กับ eclipse (ต่อ)

บทความที่แล้วผมได้อธิบายขั้นตอนการติดตั้งและการสร้างโปรเจคไว้บ้างแล้ว วันนี้ผมจะมาแนะนำการใช้งานเพิ่มเติม เช่น การ commit, update, lock, unlock,revert, compare with, replace with เป็นต้น

เมื่อเรา คลิกขวาที่โปรเจค จะมีเมนูที่มีให้ใช้เพิ่มขึ้นมาจากเดิมได้แก่ Team, Compare with.., Replace with.. ในเมนูที่เพิ่มมานี้ก็จะแยกย่อยออกไปอีกมากมาย..

Team


Compare with


Replace with


ข้อสังเกตุ
ถ้าไฟล์ถูกบันทึก ยังไม่ถูกบันทึก หรือไฟล์ที่ถูกแก้ไข ไอคอน จะแตกต่างกัน


ไฟลที่บันทึกแล้ว


ไฟลที่ถูกแก้ไข


ไฟล์ที่ยังไม่บันทึก

ส่วนตัวเลขที่ต่อท้ายชื่อเป็นเลขที่บอกว่า ไฟล์หรือโปรเจคนี้ เป็น version เท่าไหร่
โปรเจคนี้ผม commit ไป 2 ครั้งแล้ว มันก็จะมีเลขบอกเราด้วย..

ตัวเลขบอก version


ผมจะแนะนำการใช้งานบางตัวที่ใช้บ่อยๆนะครับ ส่วนที่เหลือไปลองเล่นกันดูไม่ยากครับ

  • commit คือ การอัพโหลดไปเก็บที่ server
    ถ้าไฟล์หรือโปรเจคที่เราปรับปรุงแล้ว ต้องการจะอัพโหลดขึ้นไปบน svn server ก็ให้ใช้เมนู commit
    อยาก commit เฉพาะไฟล์ หรือจะ commit ทั้งโปรเจคเลยก็ได้
    ก็ คลิกขวา เลือก Team > Commit




    กรอก comment ว่าเราทำอะไรกับไฟล์หรือโปจเจคนี้ไป จากนั้นกด OK แล้วจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมาก็กด Trust Anyway เป็นอันเสร็จ
  • update คือ ถ้าหากมีนักพัฒนาหลายคน แก้ไขและได้ commit ไฟล์ไป เมื่อเราอัพเดทก็จะได้ไฟล์ที่เป็น version ล่าสุดมา
    คลิกขวา ที่โปรเจค เลือก Team > Update

  • revert คือ การย้อนกลับ เราสามารถเลือก version ที่จะย้อนกลับได้
    คลิกขวา ที่โปรเจค เลือก Replace with > Revision or URL




    เลือก Revision กด Browse..


    ก็เลือก version ที่จะย้อนกลับมาได้ตามสบายเลย กด OK ก็เรียบร้อย
    ลองเล่นดูนะครับ ผมไม่มีเวลาทำให้ได้ทั้งหมด ถ้าสงสัยก็ถามทิ้งคำถามเอาไว้นะครับ ถ้าผมมีความรู้พอที่จะตอบได้ก็จะตอบครับ
    หรือถ้าไม่เข้าใจอยากถามจริงๆ ได้ที่ elung.cpe@gmail.com ครับ
    หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ

    08 July 2010

    คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

    คำว่า “ทุกข์” คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

             มนุษย์มีความ ทุกข์ตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเกิดมาแล้ว ก็มีเสียงร้อง บ่งบอกถึงความทุกข์ 

    เพราะหิว เพราะหนาว เพราะร้อน มีความไม่สบายกายเกิดขึ้น จำเป็นที่ผู้เป็นแม่ต้องหาผ้ามาห่ม หานมมาให้กิน ต่อจากนั้นทุกข์ ก็เกิดขึ้นตามลำดับ พ่อแม่ก็มีความเป็นทุกข์ใจ จำเป็นต้องหาอาหาร หาเครื่องนุ่งห่ม หาที่อยู่อาศัย หายารักษาโรคให้ลูก ส่วนเด็ก ที่เกิดมาก็จะเป็นทุกข์ตามลำดับ เช่น ทุกข์เพราะหิว ทุกข์เพราะอิ่ม ทุกเพราะต้องขับถ่าย ทุกข์เพราะร้อน เพราะหนาว ทุกข์เพราะเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์เพราะเรื่องการเรียน ทุกข์เพราะเรื่องงาน ทุกข์เพราะอยากมีคู่ครอง นี้คือความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับมวลมนุษย์เป็นประจำ ดังที่ทุกคนได้รับความทุกข์เหล่านั้นกันอยู่แล้ว...อ่านต่อ...

    01 July 2010

    คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

    1. ปัญญา คือ ความรอบรู้ รู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
    2. ความตั้งใจมั่น หมายถึงความจริงใจ จริงจัง และต่อเนื่องในการกระทำสิ่งนั้นๆ 
    3. สติ สัมปชัญญะ หมายถึง ความระลึกได้ และรู้ตัวว่าเรา กำลังทำสิ่งนั้นอยู่ 
    4. ความเพียร หมายถึงความขยันกระทำสิ่งนั้นๆ จนกว่าจะสำเร็จ
    5. ความอดทน หมายถึงการอดทนต่อความเหนื่อยยาก ลำบากกาย ลำบากใจ ในการกระทำสิ่งนั้นๆ

    คุณธรรม ข้อที่ ๑. ปัญญา

    คนที่มีปัญญาจะทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตัวอย่างเช่น ครูสอนหนังสือข้างถนน ที่พยายามสอนเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา เพื่อเด็กเร่ร่อนข้างถนน หรือในสลัมได้มีโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง แสดงว่าครูที่สอนมีคุณธรรม ดังนี้ มีปัญญา

    ครูเหล่านั้นมีความรู้ทางด้านวิชาการ และมีปัญญารู้ต่อว่า ถ้าได้ช่วยสอนหนังสือ เด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ จะเกิดประโยชน์กับเด็กทุก ๆ คน คือทำให้เด็กมีความรู้ มีอนาคต ส่งผลดีให้แก่
    สังคม ประเทศชาติ บ้านเมือง เมื่อรู้ดังนี้แล้ว จึงเกิดความตั้งใจมั่น ซึ่งเป็นธรรมข้อที่ ๒


    คุณธรรมข้อที่ ๒. ความตั้งใจมั่น 

    เกิดการกระทำด้วยความจริงใจจริงจังและต่อเนื่อง ในการสอนเด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาสข้างถนนหรือในสลัม โดยใช้สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นธรรมข้อที่ ๓...อ่านต่อ...